2554-04-23

รีวิว Samsung Galaxy Tab แบบสบายๆ ฉบับ นาย @chiisaii

สวัสดีครับ กลับมาพบกับกระผมอีกครั้ง นาย @chiisaii ครับ หลังจากกระผมที่เขียนบทความอะไรต่อมิอะไรมาซักพัก แต่ดันลืมเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งไปเสียสนิท โดยสิ่งนี้ผมขอเกริ่นก่อนเลยครับว่า มันเป็นอุปกรณ์ที่ผมซื้อมาเอาไว้ใช้เพื่อการเขียนบทความ และอ่าน e-book ซะด้วย แถมเพิ่งซื้อมาไม่นานนี้เอง นั่นก็คือ การรีวิวเจ้า Galaxy Tab นั่นเอง


ซึ่งในขณะที่ผมเขียนบทความนี้อยู่นั้นก็ใช้เจ้า Galaxy Tab เขียนอยู่ซะด้วย และผมจะเอาจัดทุกส่วนโพสต์ขึ้น Blog ด้วยเจ้านี่ทั้งหมด หลายๆ ท่านที่นั่งอ่านบทความผมอยู่คงจะงงกันเป็นไก่ตาแตกเลยนะครับว่า "แล้วรูปล่ะครับพี่น้อง" แหะๆ โปรดอย่าตกใจครับ อันนั้นถือเป็นข้อยกเว้นครับ ผมจะถ่ายรูปทีหลังแล้วก็อัพขึ้นไปแปะอีกทีก็เป็นอันเสร็จครับ อิอิ


เอาละครับทีนี้ก็มาดูรีวิวเจ้า Galaxy Tab กันมั่งดีกว่าว่ามันมีอะไรดีบ้าง แตกต่างจาก iPad ที่หลายท่านรู้จักเป็นอย่างดีรึเปล่า


เริ่มแรกเลยนะครับ ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่า Samsung Galaxy Tab นั้นเป็น Tablet เครื่องแรกผลิตโดยบริษัท Samsung เอง ... หน้าตามีขนาดเพียง 7" ซึ่งถ้าเทียบกับ iPad เอง มันมีขนาดเล็กกว่าเยอะพอสมควร ระบบปฏิบัติการ (OS) Android Froyo 2.2 และ CPU (ARM Cortex A8) มีขนาด 1 GHz


ส่วนกล้องมีทั้งหน้า และหลัง โดยกล้องหน้ามีขนาด 1.3 ล้านพิกเซล และกล้องหลังมีขนาด 3 ล้านพิกเซล หน่วยความจำ RAM 512 MB ตัวเครื่อง 16 GB และการ์ดหน่วยความจำใช้ microSD ความจุสูงสุดสามารถจุได้ 32 GB


ตัวหน้าจอเป็นระบบสัมผัส Multi-Touch TFT-LCD 1024 x 600 พิกเซล ขนาดของตัวเครื่อง กว้าง 12 ซม. ยาว 19 ซม. หนา 11.98 มม. น้ำหนัก 380 กรัม (เกือบ 4 ขีด) ตัวเครื่องเป็นพลาสติกแข็ง ด้านหลังสวยงาม


ข้อดีของเจ้าเครื่องนี้ออกแบบมาให้เป็นทั้งพกพาสะดวก และอ่านหนังสือหรือมองอะไรในนี้ได้ชัดสบายตา ซึ่ง iPad เองจะมีปัญหาในเรื่องของการพกพาที่ค่อนข้างลำบาก และเรื่องโทรศัพท์เอง เจ้า Galaxy Tab มี Feature นี้ไปเต็มๆ ครับ กล่าวคือ ใช้ได้ทั้ง Hand Free และ โทรแบบปกติได้ เพียงแต่จะมีเสียงเล็ดลอดออกมาทางลำโพงของมันเองครับ ซึ่งอาจจะกระทบคนข้างๆ เค้านิดหน่อย แนะนำใช้ Hand Free จะดีกว่าครับ


โดยภาพรวมของเจ้า Galaxy Tab ถือว่า ชนะใจผมไปเต็มๆ ในเรื่องของขนาดที่เล็กกว่า และสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง มากกว่า iPad ในเรื่องของการเปิด Folder จะย้ายไฟล์ไปไหนมาไหนก็สะดวกกว่า แถมในเรื่องของราคาที่ปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่คนทั่วไปสามารถซื้อได้ (ลดลงมาเหลือ 14,900 บาท เมื่อต้นเดือนเมษายน จากที่เปิดตัว 22,900 บาท ในช่วงปลายปีที่แล้ว) เลยทำให้ผมตัดสินใจซื้อเจ้า Galaxy Tab โดยไม่รีรอเลยครับ


ก่อนอื่นก็มาดูที่รูปข้างล่างกันซักเล็กน้อยครับ ตั้งแต่แกะกล่องกันเลย :)

เริ่มด้วยกล่องงามๆ ครับ ถือว่าทำ Packaging ได้สมราคา



เสร็จแล้วก็เปิดฝามันออกมา เห็นแล้วงามมากๆ



มาชมอุปกรณ์ภายในที่แถมมาให้กับเครื่องครับ ยอมรับว่ามันดีกว่า iPad ตรงที่มีให้ทั้ง หูฟัง Hand Free และตัวปลั๊ก Charger พร้อมสาย USB เนี่ยแหละครับ



มาดูด้านหน้าเครื่องกันบ้าง โดยเทียบขนาดกับเจ้า iPod Touch และ BB



ด้านข้างของเครื่องครับ (เทียบกันทั้ง 3 ตัว)



ด้านหล้งของเครื่องครับ (เทียบกันทั้ง 3 ตัว)



ตัวเครื่องพร้อม ซอง และตัวกันกระแทก (ต้องซื้อแยกครับ)



หน้าตาหลังเปิดเครื่อง แจ่มมากตามสไตล์ Samsung ดูแล้วสบายตา





ตัวเมนูด้านในครับ เอานิ้วเลื่อนไปมาได้เหมือน iPad



หน้าตาคีย์บอร์ดของเค้าครับ ภาษาไทยอาจดูงงงวยเล็กน้อย วิธีพิมพ์ต้องกดซ้ำบนแป้นเสมือน เพื่อเปลี่ยนตัวอักษร ถ้าทนไม่ไหวแนะนำให้ดาวน์โหลดคีย์บอร์ดไทย 4 แถวปกติเปลี่ยนได้ครับ



มาดูทางด้านอ่านหนังสือกันบ้างครับ อ่าน e-book สบายตามากมาย



มีแอปคลังหนังสือให้โหลด e-book ใส่ได้ด้วย



ส่วนเรื่องหนังสือพิมพ์ และนิตยาสาร ก็สามารถไปหาอ่านได้ที่ Reader Hub



จะอ่านข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ ก็แจ่มมากมายครับ เห็นชัดเจน ย่อ-ขยายได้ เหมือน iPad





สุดท้ายเรื่องความบันเทิง ก็ไม่แพ้ iPad ครับ เล่นเกมส์จอใหญ่มันส์สะใจ



ทั้งหมดก็เป็นเพียงการรีวิวแบบสบายๆ ไม่เครียด พร้อมรูปมากมาย เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังสนใจเจ้า Galaxy Tab ได้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นครับ โดยส่วนตัวผมแล้ว ถือว่าซื้อเครื่องนี้มาใช้คุ้มค่าแน่นอนครับ ทำได้เกือบทุกอย่างไม่แพ้โน๊ตบุ๊คเลยครับ ... สุดท้ายนี้ก็พบกับกระผม นาย @chiisaii ได้ใหม่ในบทความหน้านะครับ สวัสดีครับ

2554-04-22

ฝากประชาสัมพันธ์กันอีกรอบ: งาน IT iTrend byThaiware (27 เมษายน นี้)

ฝากช่วยประชาสัมพันธ์กันอีกรอบครับ งาน IT iTrend by Thaiware 27 เมษายนนี้ ณ K-SME Care : Knowledge Center ชั้น 2 อาคารจามจุรีสแควร์ (Residence zone) ส่วนรายละเอียดอยู่ตรงด้านล่างนี้ครับ :)

2554-04-21

ฝากประกาศ: รับสอนเปียโนที่บ้านผู้สอน แถว สาธุประดิษฐ์

พอดี ลูกศิษย์ลูกหาเค้าฝากมาให้ประกาศหน่อยครับ ตามนี้

รับสอนเปียโนที่บ้านผู้สอน ชม. ละ 300 บาท แถว สาธุประดิษฐ์ครับ

ผู้สอน กำลังศึกษาอยู่ ชั้นปีที่สี่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กำลังอยากจะหารายได้พิเศษ ครับ และ รับสอนเปียโน ตั้งแต่เด็กอายุ 6 ขวบขึ้น ไปจนถึง ผู้ที่อยากจะเล่นเป็นงานอดิเรกครับ เน้นปูพื้นฐานใหม่หมดครับ จะใช้หลักสูตร alfred ครับ ค่าสอน 300 บาท ต่อ หนึ่ง ชั่วโมง ครับ

สนใจติดต่อ: 0816851828 รัน : ))

2554-04-19

บทความดีๆ มาฝาก: ดิจิทัล คอนเทนท์ เปลี่ยนโลก 'สิ่งพิมพ์'

สงกรานต์ก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็มากล่าวสวัสดีกันอีกครั้งกับ กระผม นาย @chiisaii (ชีไซ) อีกเช่นเคยครับ วันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาก็ได้ไปมีโอกาสไปทำบุญ ๙ วัดมาด้วยครับ เอาบุญมาฝากกับทุกท่านด้วยนะครับ และแล้ววันนี้เป็นวันแรกของการทำงานหลังวันหยุดยาว และอีก 2 อาทิตย์ ก็กำลังจะเจอ Long Weekend ระลอกสอง คือ วันแรงงาน - วันฉัตรมงคล อีกทีนึง ก็ขอให้ทุกท่านทำงานอย่างมีความสุขตลอดสองอาทิตย์นี้ด้วยความตั้งใจ และบรรลุผลด้วยนะครับ

ส่วนวันนี้ก็อีกเช่นเคยครับ กับครั้งที่แล้ว หัวข้อบทความดีๆ มาฝาก ก็ได้มาเวียนบรรจบรอบสอง และก็ได้นำสาระมาให้อ่านอีกเช่นเคย แน่นอนครับว่า หัวข้อในคราวนี้คงจะชอบใจกับชาว IT กันไม่น้อย และ นักอ่านตัวยง ก็คงอาจจะต้องปรับตัวกับสิ่งใหม่ๆ ควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งนั่นก็คือ "ดิจิตัล คอนเทนท์" นั่นเอง ... ถามว่าตอนแรกๆ มันเกิดมาจากอะไรกันแน่ และที่มาที่ไปมันเป็นอย่างไรกัน ... เริ่มแรกเลย มันมาจากหนังสือ กับ แมกกาซีน ที่เราอ่านกันอยู่เป็นประจำเนี่ยแหละครับ ต่อมามีเว็ปไซต์เจ้าหนึ่งมีนามว่า Amazon ที่ตั้งขึ้นมาเป็นตลาดซื้อ-ขายหนังสือออนไลน์ ก็ได้เกิดไอเีดียอย่างหนึ่งขึ้นมาว่า "ทำไมเราไม่ลองเอาหนังสือไปใส่ในสื่อดิจิตอลต่างๆ ดูมั่งล่ะ ?" ก็ได้เกิดปรากฎการณ์ในช่วงแรกๆ ว่า เอาหนังสือมา Scan ด้านในบางส่วนเป็นตัวอย่างให้ลูกค้าได้อ่านก่อนตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนั้น ต่อมาเกิดไปได้ดี ก็เริ่มประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับนักอ่านชิ้นใหม่ที่ชื่อว่า Amazon Kindle หรือ E-book Reader มาให้นักอ่านตัวยง ได้มีโอกาสสัมผัสกับ หนังสือในรูปแบบอิเล็กโทรนิกส์ หรือ e-book เป็นครั้งแรก ... ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีมากๆ สำหรับนักเขียนส่วนนึง กล่าวคือ ช่วยลดปัญหาเปลืองทรัพยากรกระดาษ บางส่วน และ ลดค่าใช้จ่ายวัตถุในการผลิตไปได้มากมาย โดยทำออกมาเป็นสื่อแบบนี้เพียงครั้งเดียว แล้วก็กระจายต่อไปให้คนอื่นอย่างง่ายดาย 

แต่ปัญหาก็มีอยู่ในเรื่องของความเคยชินของผู้อ่านเอง และการละเมิดลิขสิทธิ์ในโลกดิจิตอล มันช่างทำได้ค่อนข้างง่ายอยู่ โดยฝีมือของเหล่า Hacker ไปเอาไฟล์มาปล่อยแจกฟรีตามที่ต่างๆ รวมไปถึงโรงพิมพ์เองด้วยว่า ถ้าหากเป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด โรงพิมพ์อาจจะมีสิทธิ์ได้รับผลกระทบโดยทันที เพราะผลิตเป็น Mass Product ไม่ได้ ... เลยกลายเป็นปัญหาใหญ่พอสมควร จนกระทั่งมีบุคคลผู้หนึ่งนาม Steve Jobs ได้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า iPad ซึ่งหน้าตาคล้ายๆ กับ iPod Touch หรือ iPhone แต่มีขนาดเท่ากับกระดาษ A4 และสามารถอ่านหนังสือในนี้ได้ด้วย และที่น่าสนใจอีกอย่างนึง คือ ระบบปิด ที่พี่แกนำเสนอ ได้มีการตั้งร้านหนังสือดิจิตอลขึ้นมา เพื่อให้โรงพิมพ์ได้มีสิทธิ์เอาหนังสือมาขายในนี้ได้ และทำให้นักอ่านหาหนังสือได้ง่ายขึ้นอีกด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของยุค Tablet บูม ที่หลายเจ้ากำลังผลิตสิ่งที่หน้าตาคล้ายๆ iPad ออกมาอย่างมากมาย อาทิ Samsung Galaxy Tab, Dell Streak, Motolora Xoom ฯลฯ อีกเพียบ

ที่เล่ามาก็มาจากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ ลองมาดูบทความของท่านนี้บ้างดีกว่าครับ จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดย คุณรัตติยา อังกุลานนท์ (New Media กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 11/4/2011) ได้กล่าวหัวข้อนี้เอาไว้ดังนี้ครับ

วันนี้ "สื่อสิ่งพิมพ์" ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง อาจเรียกไ้ด้ว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤติของบางสื่อ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของผู้เสพ แต่จังหวะที่ทุกคนกำลังจับตามองช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิทัล ได้เข้ามาเสริมโอกาส ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์เริ่มขยับไปสู่การพัฒนาคอนเทนท์ในเวอร์ชั่น ดิจิทัล เช่นกัน

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล  ประธานบริหารและที่ปรึกษาอาวุโส ด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง บริษัท ธอมัส ไอเดีย จำกัด กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสื่อสิ่งพิมพ์ จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้รูปแบบการรับสื่อของผู้คนเปลี่ยนไปจากเดิม กลุ่มที่เห็นชัดเจนในขณะนี้คงเป็น "แมกกาซีน" ซึ่งหลายหัวหลายฉบับเริ่มหายจากแผง เพราะรับแรงถาโถมของเวอร์ชั่น E-Magazine ผ่านการรับชมทางเว็บไซต์ ต่อด้วยอุปกรณ์สมาร์ท ดีไวซ์ ของยุคนี้ ยังไม่ทันที่อีแมกกาซีน จะแจ้งเกิดอย่างสมบูรณ์แบบ คอนเทนท์ ก็ถูกพัฒนาไปอีกขั้นด้วย "ดิจิทัล แมกกาซีน" และครั้งนี้มาพร้อมกับความพิเศษ ด้วยรูปแบบ "อินเตอร์แอคชั่น" โดยคอนเทนท์ต่างๆ สามารถโต้ตอบกับผู้เสพ ด้วยดิจิทัล แมกกาซีน จะมีฟอร์แมต ภาพ เสียง วีดีโอ และแอนิเมชัน แบบครบสูตร ต่างจากอีแมกกาซีน ที่มักเป็นเพียงไฟล์พีดีเอฟ หรืออาจมีดิจิทัลคอนเทนท์ ประเภทเคลื่อนไหวบ้างก็เล็กน้อย

แต่ "ดิจิทัล แมกกาซีน" จับจุดความสนใจด้วยรูปแบบ อินเตอร์แอ็คทีฟ กับผู้เสพทุกสัมผัสการรับรู้ หากเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ก็สามารถอัพโหลดข้อมูลการสื่อสารได้แบบเรียลไทม์ และสิ่งสำคัญ สำหรับนักการตลาด คือ การ Engagement ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ด้วยระยะเวลานานกว่าสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาทางทีวี จึงมีข้อจำกัดการรับรู้เพียง 30 วินาที หรือป้ายโฆษณาที่ผ่านแล้ว อาจผ่านเลย

อุไรพร มองว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทั้งอีแมกกาซีน และดิจิทัล แมกกาซีน ได้รับความสนใจ อยู่ที่จำนวนดีไวซ์ ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงคอนเทนท์เหล่านี้ และการกำหนดราคาดาวน์โหลดให้จูงใจ คาดว่าจำนวน "ไอแพด" ดีไวซ์ที่ได้รับความนิยม และเหมาะสมกับการเสพ ดิจิทัล แมกกาซีน ในไทยมีประมาณ 1 แสนเครื่องในปัจจุบัน แต่ปีนี้ อุปกรณ์แทบเล็ต แบรนด์อื่นๆ จะมีรุ่นใหม่ๆ เข้ามาทำตลาดมากขึ้น และมีจำนวนมากพอทีจะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ตื่นตัว พัฒนาแอพพลิเคชั่น ดิจิทัล แมกกาซีน อย่างคึกคักในปีนี้

ในปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตดิจิทัล คอนเทนท์ ยังมีความสับสนในการลงทุนฟอร์แมต และการกำหนดราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินดาวน์โหลด เพราะไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ พฤติกรรมของคนไทยยังรู้สึกว่า คอนเทนท์เหล่านี้ควรจะ "ฟรี" การเปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินที่ "คอนเทนท์" ที่ดีมีคุณภาพ และแตกต่าง หรือ หาเสพไม่ได้จากช่องทางไหน ดังนั้น การพัฒนา "ดิจิทัล แมกกาซีน" ที่ไม่มีเวอร์ชั่น "เล่ม" ให้อ่าน จึงมีโอกาสเรียกเงินในกระเป๋าผู้บริโภค จากการดาวน์โหลดได้ง่ายกว่า "แมกกาซีน" ที่มีทั้งสิ่งพิมพ์ และดิจิทัล คอนเทนท์

ส่วนแนวโน้มหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ในประเทศไทย ไปได้ค่อนข้างช้า จากการสำรวจผู้เข้าชมงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ หรือบุ๊คเอ็กซ์โป ช่วงเดือน ต.ค. 2553 พบว่ามีเพียง 3% ที่อ่านอีบุ๊ค ตัวเลขดังกล่าวทำให้สำนักพิมพ์พอคเก็ตบุ๊คต่างๆ อยู่ในขั้นความเตรียมพร้อมคอนเทนท์ เพื่อรองรับตลาดอีบุ๊ค เท่านั้น

อุไรพร มองว่าตลาดอีบุ๊ค ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ และแบบพีดีเอฟไฟล์ แต่ด้วยพฤติกรรมคนไทยที่ชื่นชอบสีสัน และรูปภาพ จึงเชื่อว่าอุปกรณ์ แทบเล็ต น่าจะได้รับความสนใจมากกว่า "อีบุ๊ค รีดเดอร์" ที่เจาะกลุ่มคนสูงอายุที่ยังชื่นชอบการอ่านหนังสืออยู่ เพราะปัจจุบัน อีบุ๊ค ในมุมมองของผู้อ่าน เป็นเพียงการเปลี่ยนจากพอคเก็ตบุ๊คเล่ม มาเป็นเวอร์ชั่นอีบุ๊คที่มีเนื้อหาไม่ต่างจากเดิม

ปัจจุบันทุกสำนักพิมพ์ต่างๆ กำลังอยู่ระหว่างการปรับตัวในการพัฒนา ดิจิทัล คอนเทนท์ ที่เหมาะสมตอบสนองไลฟ์สไตล์กลุ่มผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการใช้งานผ่านสมาร์ท ดีไวซ์ ต่างๆ มากขึ้น ทำให้ทุกค่ายมีการพัฒนาคอนเทนท์ เพื่อให้บริการบนดีไวซ์ที่เข้าถึงผู้บริโภค

แม้วันนี้ จะเรียกว่าอยู่ในขั้นทดลองตลาดศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ทุกค่ายก็ต้องก็ต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้ เพื่อสร้างแบรนด์เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในอนาคตอันใกล้ เมื่อถึงวันที่ผู้บริโภคไม่ซื้อ "สิ่งพิมพ์" แบบเล่มอีกต่อไป แต่ยังให้ความสนใจเสพคอนเทนท์ ที่แต่ละสำนักพิมพ์มีจุดเด่นต่างกัน จะเปลี่ยนภาพของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล อย่างรวดเร็ว

หากย้อนกลับไปดูการเปลี่ยนแปลงของสื่อดอทคอมเมื่อ 10 ปีก่อน จะพบว่าองค์กรและแบรนด์ต่างๆ "ไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องมีเว็ปไซต์" แต่มาวันนี้ คงไม่มีใครถามอีกแล้วว่า ต้องมีเว็ปไซต์หรือไม่ แต่คำถามสำหรับ ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ ในวันนี้หากไม่ทำ "ดิจิทัล คอนเทนท์" จะอยู่ได้ไหม เชื่อว่าคงไม่ต้องรอ "คำตอบ" นานถึง 10 ปีเหมือนยุคดอทคอม เพราะด้วยเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ 3G สมาร์ทดีไวซ์ ต่างๆ จะเป็นตัวเร่ง ให้พฤติกรรมผู้บริโภควันนี้เปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง

เมื่อมาถึงวันที่ผู้บริโภคไม่ซื้อ ฮาร์ด ก๊อบปี๊ "พับลิชเชอร์" จะทำอย่างไร คำถามจึงอยู่ว่า "จะอยู่ที่เดิม" หรือ "ก้าวไปหาอนาคต" หากจะเดินไปหาอนาคตก็จำเป็นต้องลงทุน พัฒนา บิซิเนส โมเดล ที่เหมาะสมสำหรับ "สิ่งพิมพ์ยุคดิจิทัล"

2554-04-12

เรื่องน่ารู้: ชาร์จ Galaxy Tab อย่างไรให้ถูก

สวัสดีครับ กลับมากันอีกครั้งกับกระผม นาย @chiisaii (ชีไซ) กันอีกครั้งครับ ช่วงนี้ก็เริ่มเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์กันแล้วนะครับ ก่อนอื่นก็ขอกล่าวสวัสดีปีใหม่ไทยแด่ทุกคนด้วยครับ และวันหยุดยาวๆ เช่นนี้ สำหรับคนที่จะกลับต่างจังหวัด ขับรถขับราก็ระมัดระวังกันหน่อยนะครับ ด้วยความห่วงใยจากกระผมเอง @chiisaii ครับ

วันนี้พอดีเจอประสบการณ์หลังจากได้เจ้า Galaxy Tab มาใหม่ๆ ก็เลยสังเกตุบางสิ่งบางอย่าง เกี่ยวกับการชาร์ตแบตเจ้าเครื่องนี้ โดยสอยมาวันแรก พอดีเกิดความขี้เกียจไม่เอาตัวชาร์จ (Adapter) ของมันเองมาใช้ แต่มักง่ายไปเอาของ Apple iPod ไปเสียบแทน แล้วทำอย่างนี้มาประมาณ 1 อาทิตย์ ก็เริ่มสังเกตุอาการผิดปกติของเจ้า Galaxy Tab ว่า ทำไมชาร์จไฟแล้วไม่เข้า ใช้ไปแบตหมดเร็วกว่าปกติ และตอนชาร์จเต็ม หลังเครื่องเกิดอาการร้อนจัด ก็เริ่มสงสัย

จากนั้นก็เข้าไปหาข้อมูลแล้วก็เจอหลายท่านบ่นเรื่องแบตเป็นเสียงเดียวกัน เลยลองเอาตัวชาร์จ (Adapter) ของมันเอง มาใช้บ้าง อาการที่กล่าวหายไปหมดเลยครับ กลายเป็นชาร์จเข้า และหลังเต็มแล้วแบตไม่ร้อน เลยได้บทเรียนใหม่ในวันนี้ทันทีเลยครับ

กล่าวคือ เครื่องนี้อย่าชาร์จมักง่ายครับ USB ของ Galaxy Tab ชาร์จกับคอม คือการเชื่อมต่อ และโอนถ่ายข้อมูล เรื่องชาร์จคือเรื่องรอง และการไปเอา USB Adapter ตัวอื่นที่ไม่ใช่ของมันเองมาใช้ ถือเป็นความผิดมหันต์ เพราะเสียบไปแล้ว มันเข้าใจว่าเสียบกับคอมอยู่ ตัวเครื่องมันเจาะจงเฉพาะให้ใช้กับของมันเท่านั้นครับ

คราวนี้เราจะพาไปดูรูป กันดีกว่าครับว่าชาร์จ Galaxy Tab ที่ถูกต้องเป็นอย่างไรกัน ...



จากรูปข้างบนให้ดูตัวอย่างของ USB Adapter ทั้ง 2 ชนิด ก่อนครับ โดยทางซ้ายมือ สีขาว จะเป็นของ Apple ส่วนทางขวา สีดำ จะเป็นของเจ้า Galaxy Tab เองครับ



ส่วนรูปถัดมา จะเป็นการชาร์จที่ผ่านเจ้า USB Adapter ของ Apple ซั่งต้องขอบอกเลยครับว่าอย่าทำเด็ดขาด เพราะตัวชาร์จมันจะโชว์ กากบาท แดงๆ เล็กๆ อยู่ ซึ่งถ้าเจอเช่นนี้ ให้ถอดออกทันทีเลยครับ



รูปสุดท้ายเป็นการชาร์จที่ถูกต้องผ่านเจ้า USB Adapter ของ Galaxy Tab เองครับ สังเกตุง่ายๆ ตอนเสียบจะทีเสียงร้อง 1 ที แล้วตัว icon battery มุมบนขวาจะวิ่งครับ และไม่มีตัว กากบาท แดงๆ เล็กๆ ถือว่าชาร์จปลอดภัยครับ เครื่องไม่ร้อน ทำให้ถนอมแบตยาวนาน

เห็นแล้วหวังว่าผู้อ่านคงจะได้ความรู้และความเข้าใจอะไรมากขึ้นนะครับ พบกับบทความของผมได้อีกนะครับ ช่วงนี้สงกรานต์ว่างๆ จะโพสต์ Blog หลากหลายความรู้ให้ทุกท่านอีกเช่นเคย ^ ^

2554-04-10

ว่าด้วยเรื่องของ Mind Mapping App สำหรับมือถือ (ภาค 2)

สวัสดีกันอีกครั้งครับ กลับมากันอีกครั้งในเรื่อง Mind Mapping กันต่อในส่วนของ น้องแอนกันมั่งซึ่งหลายๆ ท่านอาจยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า "น้องแอน" กันเลยใช่ไหมครับ ซึ่งเค้าก็คือ Android นั่นเอง โดยครั้งที่แล้วหลายๆ ท่านที่มาอ่านคงได้เจอในส่วนของน้องไอไป ซึ่งสำหรับหลายท่าน (ที่ยังไม่ได้ jail break) คงจะบ่นกันเรื่องที่ว่าแอปแค่นี้ทำไมต้องเสียตังค์กันด้วย ซึ่งโดยในมุมมองของผมนั้น คิดว่าเป็นสิ่งดีครับ เพราะเราต้องเห็นใจผู้พัฒนาแอปกันบ้าง (ไม่ต่างจากเราไปก๊อปปี้เพลงของนักร้องฟรีๆ) เพียงแต่อาจจะจุ๊กจิ๊กไปบ้างตามสไตล์ของ Apple แต่อันหลังต้องขอบอกเลยครับว่ามันเยี่ยมกว่าในเรื่องของ Open Source อย่างแท้จริงครับ โดยเราสามารถไปโหลดแอปฟรีๆ ได้ที่ Android Market ครับ

อ้าว คงไม่ต้องพล่ามเยอะแล้วล่ะครับ เรามาดูกันเรยดีกว่าครับว่า Mind Map ของน้องแอน จะสู้น้องไอได้ไหม โดยแอปที่เราหาได้ และลองใช้ก็มี 2 ตัวเช่นเคยครับ คือ Thinking Space กับ Mind Map Memo ครับ



จากรูปนะครับ ทางซ้ายมือ Thinking Space ส่วนทางขวามือ Mind Map Memo ครับ โดยเรามาเริ่มจากมวยรองอย่าง Mind Map Memo กันดีกว่าครับ



เจ้าตัวแอปนี้ที่ชอบอย่างนึงคือใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก เข้ามาก็จะให้เราเข้าไปสร้างใหม่หรือเปิดให้แก้ไขได้ตามใจชอบ แล้วการลาก Node ย่อยก็แสนง่าย เพียงแค่ใช้นิ้วสัมผัสแล้วลาก ก็สร้าง Mind Map ส่วนตัวได้ตามต้องการ



ส่วนเจ้าข้อเสียของเจ้าตัวแอปนี้ก็คือ ไม่สามารถ upload หรือแปลงไฟล์ไป Share ให้ชาวบ้านได้ครับ ทำได้แค่เหมือนสมุดโน๊ตเท่านั้นเอง ซึ่งก็น่าเสียดายอยู่เช่นกันครับ แต่ยังดีครับที่เป็นแอปฟรี ได้อย่างก็เสียอย่างครับ

ต่อไปเป็นแอปของ Mind Map อีกตัวที่อยากนำเสนอมากๆ ครับ ถือว่า Advance ที่สุดในนี้แล้วครับ นั่นก็คือ เจ้า Thinking Space นั่นเองครับ เรามาดูรูปหน้าเจ้าแอปตัวนี้กันดีกว่าครับว่ามันมีดีอะไรบ้าง



เข้ามาข้างในก็รู้สึกดูน่าใช้แล้วใช่ไหมครับ ในส่วนของเจ้าแอปนี้ก็แทบไม่น่าเชื่อเหมือนกันครับว่า มันจะเป็นแอปฟรีไปด้ยังไง โดยหลังจากผมได้สร้าง Mind Map ใหม่ขึ้นมาแล้วก็ลองทำดูจนได้ตามรูป



สังเกตุรายละเอียดดีๆ ครับ มันมี Option เสริมขึ้นมาเพื่อสำหรับจัดการ Mind Map ด้านใน แล้วจัดรูปแบบให้เราเองอย่างเป็นระเบียบ รวมไปถึงการแปลงไฟล์เป็นรูปแบบต่างๆ แล้วสามารถเอาไป Share ให้ชาวบ้านได้อีกด้วย แต่ข้อเสียก็มีนิดหน่อยครับ กล่าวคือ เราไม่สามารถลากเส้น Mind Map ได้อย่างอิสระครับ

เอาล่ะครับ เห็นทางฝั่งน้องแอนเป็นยังไงกันบ้างครับ แล้วแต่คนชอบนะครับว่าจะเลือกแบบไหน โดยส่วนตัว เท่าที่สังเกตุ ทางฝั่งน้องไอจะมีภาษีกว่าตรงที่ นักพัฒนาเค้ามีกำลังใจมากกว่า เพราะทำแอปแล้วสามารถขายได้ และคนส่วนใหญ่มั่นใจที่ยอมซื้อแอปผ่านน้องไอซะมากกว่า แอปเลยดูค่อนข้างมีลูกเล่น และสร้างสรรค์กว่า ผิดกับทางฝั่งน้องแอนที่เป็น Open source ซักส่วนใหญ่ ซึ่งคนที่นิยมใช้น้องแอน ก็คงอยากได้ของฟรีซักส่วนมาก นักพัฒนาก็ต้องทำใจกันหน่อย เลยทำให้บาง Feature ดูขาดๆ เกินๆ ยังไงก็ตาม ผลประโยชน์สุดท้าย ผู้บริโภคก็มีแต่ได้กับได้ (win-win) เช่นนี้แล...