2554-04-19

บทความดีๆ มาฝาก: ดิจิทัล คอนเทนท์ เปลี่ยนโลก 'สิ่งพิมพ์'

สงกรานต์ก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็มากล่าวสวัสดีกันอีกครั้งกับ กระผม นาย @chiisaii (ชีไซ) อีกเช่นเคยครับ วันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาก็ได้ไปมีโอกาสไปทำบุญ ๙ วัดมาด้วยครับ เอาบุญมาฝากกับทุกท่านด้วยนะครับ และแล้ววันนี้เป็นวันแรกของการทำงานหลังวันหยุดยาว และอีก 2 อาทิตย์ ก็กำลังจะเจอ Long Weekend ระลอกสอง คือ วันแรงงาน - วันฉัตรมงคล อีกทีนึง ก็ขอให้ทุกท่านทำงานอย่างมีความสุขตลอดสองอาทิตย์นี้ด้วยความตั้งใจ และบรรลุผลด้วยนะครับ

ส่วนวันนี้ก็อีกเช่นเคยครับ กับครั้งที่แล้ว หัวข้อบทความดีๆ มาฝาก ก็ได้มาเวียนบรรจบรอบสอง และก็ได้นำสาระมาให้อ่านอีกเช่นเคย แน่นอนครับว่า หัวข้อในคราวนี้คงจะชอบใจกับชาว IT กันไม่น้อย และ นักอ่านตัวยง ก็คงอาจจะต้องปรับตัวกับสิ่งใหม่ๆ ควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งนั่นก็คือ "ดิจิตัล คอนเทนท์" นั่นเอง ... ถามว่าตอนแรกๆ มันเกิดมาจากอะไรกันแน่ และที่มาที่ไปมันเป็นอย่างไรกัน ... เริ่มแรกเลย มันมาจากหนังสือ กับ แมกกาซีน ที่เราอ่านกันอยู่เป็นประจำเนี่ยแหละครับ ต่อมามีเว็ปไซต์เจ้าหนึ่งมีนามว่า Amazon ที่ตั้งขึ้นมาเป็นตลาดซื้อ-ขายหนังสือออนไลน์ ก็ได้เกิดไอเีดียอย่างหนึ่งขึ้นมาว่า "ทำไมเราไม่ลองเอาหนังสือไปใส่ในสื่อดิจิตอลต่างๆ ดูมั่งล่ะ ?" ก็ได้เกิดปรากฎการณ์ในช่วงแรกๆ ว่า เอาหนังสือมา Scan ด้านในบางส่วนเป็นตัวอย่างให้ลูกค้าได้อ่านก่อนตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนั้น ต่อมาเกิดไปได้ดี ก็เริ่มประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับนักอ่านชิ้นใหม่ที่ชื่อว่า Amazon Kindle หรือ E-book Reader มาให้นักอ่านตัวยง ได้มีโอกาสสัมผัสกับ หนังสือในรูปแบบอิเล็กโทรนิกส์ หรือ e-book เป็นครั้งแรก ... ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีมากๆ สำหรับนักเขียนส่วนนึง กล่าวคือ ช่วยลดปัญหาเปลืองทรัพยากรกระดาษ บางส่วน และ ลดค่าใช้จ่ายวัตถุในการผลิตไปได้มากมาย โดยทำออกมาเป็นสื่อแบบนี้เพียงครั้งเดียว แล้วก็กระจายต่อไปให้คนอื่นอย่างง่ายดาย 

แต่ปัญหาก็มีอยู่ในเรื่องของความเคยชินของผู้อ่านเอง และการละเมิดลิขสิทธิ์ในโลกดิจิตอล มันช่างทำได้ค่อนข้างง่ายอยู่ โดยฝีมือของเหล่า Hacker ไปเอาไฟล์มาปล่อยแจกฟรีตามที่ต่างๆ รวมไปถึงโรงพิมพ์เองด้วยว่า ถ้าหากเป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด โรงพิมพ์อาจจะมีสิทธิ์ได้รับผลกระทบโดยทันที เพราะผลิตเป็น Mass Product ไม่ได้ ... เลยกลายเป็นปัญหาใหญ่พอสมควร จนกระทั่งมีบุคคลผู้หนึ่งนาม Steve Jobs ได้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า iPad ซึ่งหน้าตาคล้ายๆ กับ iPod Touch หรือ iPhone แต่มีขนาดเท่ากับกระดาษ A4 และสามารถอ่านหนังสือในนี้ได้ด้วย และที่น่าสนใจอีกอย่างนึง คือ ระบบปิด ที่พี่แกนำเสนอ ได้มีการตั้งร้านหนังสือดิจิตอลขึ้นมา เพื่อให้โรงพิมพ์ได้มีสิทธิ์เอาหนังสือมาขายในนี้ได้ และทำให้นักอ่านหาหนังสือได้ง่ายขึ้นอีกด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของยุค Tablet บูม ที่หลายเจ้ากำลังผลิตสิ่งที่หน้าตาคล้ายๆ iPad ออกมาอย่างมากมาย อาทิ Samsung Galaxy Tab, Dell Streak, Motolora Xoom ฯลฯ อีกเพียบ

ที่เล่ามาก็มาจากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ ลองมาดูบทความของท่านนี้บ้างดีกว่าครับ จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดย คุณรัตติยา อังกุลานนท์ (New Media กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 11/4/2011) ได้กล่าวหัวข้อนี้เอาไว้ดังนี้ครับ

วันนี้ "สื่อสิ่งพิมพ์" ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง อาจเรียกไ้ด้ว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤติของบางสื่อ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของผู้เสพ แต่จังหวะที่ทุกคนกำลังจับตามองช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิทัล ได้เข้ามาเสริมโอกาส ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์เริ่มขยับไปสู่การพัฒนาคอนเทนท์ในเวอร์ชั่น ดิจิทัล เช่นกัน

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล  ประธานบริหารและที่ปรึกษาอาวุโส ด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง บริษัท ธอมัส ไอเดีย จำกัด กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสื่อสิ่งพิมพ์ จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้รูปแบบการรับสื่อของผู้คนเปลี่ยนไปจากเดิม กลุ่มที่เห็นชัดเจนในขณะนี้คงเป็น "แมกกาซีน" ซึ่งหลายหัวหลายฉบับเริ่มหายจากแผง เพราะรับแรงถาโถมของเวอร์ชั่น E-Magazine ผ่านการรับชมทางเว็บไซต์ ต่อด้วยอุปกรณ์สมาร์ท ดีไวซ์ ของยุคนี้ ยังไม่ทันที่อีแมกกาซีน จะแจ้งเกิดอย่างสมบูรณ์แบบ คอนเทนท์ ก็ถูกพัฒนาไปอีกขั้นด้วย "ดิจิทัล แมกกาซีน" และครั้งนี้มาพร้อมกับความพิเศษ ด้วยรูปแบบ "อินเตอร์แอคชั่น" โดยคอนเทนท์ต่างๆ สามารถโต้ตอบกับผู้เสพ ด้วยดิจิทัล แมกกาซีน จะมีฟอร์แมต ภาพ เสียง วีดีโอ และแอนิเมชัน แบบครบสูตร ต่างจากอีแมกกาซีน ที่มักเป็นเพียงไฟล์พีดีเอฟ หรืออาจมีดิจิทัลคอนเทนท์ ประเภทเคลื่อนไหวบ้างก็เล็กน้อย

แต่ "ดิจิทัล แมกกาซีน" จับจุดความสนใจด้วยรูปแบบ อินเตอร์แอ็คทีฟ กับผู้เสพทุกสัมผัสการรับรู้ หากเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ก็สามารถอัพโหลดข้อมูลการสื่อสารได้แบบเรียลไทม์ และสิ่งสำคัญ สำหรับนักการตลาด คือ การ Engagement ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ด้วยระยะเวลานานกว่าสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาทางทีวี จึงมีข้อจำกัดการรับรู้เพียง 30 วินาที หรือป้ายโฆษณาที่ผ่านแล้ว อาจผ่านเลย

อุไรพร มองว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทั้งอีแมกกาซีน และดิจิทัล แมกกาซีน ได้รับความสนใจ อยู่ที่จำนวนดีไวซ์ ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงคอนเทนท์เหล่านี้ และการกำหนดราคาดาวน์โหลดให้จูงใจ คาดว่าจำนวน "ไอแพด" ดีไวซ์ที่ได้รับความนิยม และเหมาะสมกับการเสพ ดิจิทัล แมกกาซีน ในไทยมีประมาณ 1 แสนเครื่องในปัจจุบัน แต่ปีนี้ อุปกรณ์แทบเล็ต แบรนด์อื่นๆ จะมีรุ่นใหม่ๆ เข้ามาทำตลาดมากขึ้น และมีจำนวนมากพอทีจะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ตื่นตัว พัฒนาแอพพลิเคชั่น ดิจิทัล แมกกาซีน อย่างคึกคักในปีนี้

ในปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตดิจิทัล คอนเทนท์ ยังมีความสับสนในการลงทุนฟอร์แมต และการกำหนดราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินดาวน์โหลด เพราะไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ พฤติกรรมของคนไทยยังรู้สึกว่า คอนเทนท์เหล่านี้ควรจะ "ฟรี" การเปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินที่ "คอนเทนท์" ที่ดีมีคุณภาพ และแตกต่าง หรือ หาเสพไม่ได้จากช่องทางไหน ดังนั้น การพัฒนา "ดิจิทัล แมกกาซีน" ที่ไม่มีเวอร์ชั่น "เล่ม" ให้อ่าน จึงมีโอกาสเรียกเงินในกระเป๋าผู้บริโภค จากการดาวน์โหลดได้ง่ายกว่า "แมกกาซีน" ที่มีทั้งสิ่งพิมพ์ และดิจิทัล คอนเทนท์

ส่วนแนวโน้มหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ในประเทศไทย ไปได้ค่อนข้างช้า จากการสำรวจผู้เข้าชมงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ หรือบุ๊คเอ็กซ์โป ช่วงเดือน ต.ค. 2553 พบว่ามีเพียง 3% ที่อ่านอีบุ๊ค ตัวเลขดังกล่าวทำให้สำนักพิมพ์พอคเก็ตบุ๊คต่างๆ อยู่ในขั้นความเตรียมพร้อมคอนเทนท์ เพื่อรองรับตลาดอีบุ๊ค เท่านั้น

อุไรพร มองว่าตลาดอีบุ๊ค ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ และแบบพีดีเอฟไฟล์ แต่ด้วยพฤติกรรมคนไทยที่ชื่นชอบสีสัน และรูปภาพ จึงเชื่อว่าอุปกรณ์ แทบเล็ต น่าจะได้รับความสนใจมากกว่า "อีบุ๊ค รีดเดอร์" ที่เจาะกลุ่มคนสูงอายุที่ยังชื่นชอบการอ่านหนังสืออยู่ เพราะปัจจุบัน อีบุ๊ค ในมุมมองของผู้อ่าน เป็นเพียงการเปลี่ยนจากพอคเก็ตบุ๊คเล่ม มาเป็นเวอร์ชั่นอีบุ๊คที่มีเนื้อหาไม่ต่างจากเดิม

ปัจจุบันทุกสำนักพิมพ์ต่างๆ กำลังอยู่ระหว่างการปรับตัวในการพัฒนา ดิจิทัล คอนเทนท์ ที่เหมาะสมตอบสนองไลฟ์สไตล์กลุ่มผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการใช้งานผ่านสมาร์ท ดีไวซ์ ต่างๆ มากขึ้น ทำให้ทุกค่ายมีการพัฒนาคอนเทนท์ เพื่อให้บริการบนดีไวซ์ที่เข้าถึงผู้บริโภค

แม้วันนี้ จะเรียกว่าอยู่ในขั้นทดลองตลาดศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ทุกค่ายก็ต้องก็ต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้ เพื่อสร้างแบรนด์เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในอนาคตอันใกล้ เมื่อถึงวันที่ผู้บริโภคไม่ซื้อ "สิ่งพิมพ์" แบบเล่มอีกต่อไป แต่ยังให้ความสนใจเสพคอนเทนท์ ที่แต่ละสำนักพิมพ์มีจุดเด่นต่างกัน จะเปลี่ยนภาพของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล อย่างรวดเร็ว

หากย้อนกลับไปดูการเปลี่ยนแปลงของสื่อดอทคอมเมื่อ 10 ปีก่อน จะพบว่าองค์กรและแบรนด์ต่างๆ "ไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องมีเว็ปไซต์" แต่มาวันนี้ คงไม่มีใครถามอีกแล้วว่า ต้องมีเว็ปไซต์หรือไม่ แต่คำถามสำหรับ ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ ในวันนี้หากไม่ทำ "ดิจิทัล คอนเทนท์" จะอยู่ได้ไหม เชื่อว่าคงไม่ต้องรอ "คำตอบ" นานถึง 10 ปีเหมือนยุคดอทคอม เพราะด้วยเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ 3G สมาร์ทดีไวซ์ ต่างๆ จะเป็นตัวเร่ง ให้พฤติกรรมผู้บริโภควันนี้เปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง

เมื่อมาถึงวันที่ผู้บริโภคไม่ซื้อ ฮาร์ด ก๊อบปี๊ "พับลิชเชอร์" จะทำอย่างไร คำถามจึงอยู่ว่า "จะอยู่ที่เดิม" หรือ "ก้าวไปหาอนาคต" หากจะเดินไปหาอนาคตก็จำเป็นต้องลงทุน พัฒนา บิซิเนส โมเดล ที่เหมาะสมสำหรับ "สิ่งพิมพ์ยุคดิจิทัล"

ไม่มีความคิดเห็น: